CANNADUDE 420

วิธีการปลูกกัญชา

สิ่งสำคัญอย่างแรกเมื่ออยากปลูกกัญชา คือต้องรู้ก่อนว่า วิธี ปลูกกัญชา ต้องปลูกเพื่ออะไร เพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือเพื่อทางการแพทย์

     กัญชาเป็นพืชต้องการแสงมากถึง 14 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับสายพันธุ์ซาติวาที่เหมาะกับสภาพอากาศของเมืองไทยควรเริ่มปลูกในช่วงเดือนมิ.ย. – ก.ย. ซึ่งเป็นฤดูฝนที่มีแสงแดดยาวนานถึง 14 ชั่วโมงก่อนเข้าสู่ฤดูหนาวที่แสงสั้นลงจะทำให้กัญชาออกดอกได้ดีขึ้น ทั้งนี้ระยะเวลาการเติบโตขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้นๆ โดยแบ่งระยะในการเติบโตเป็น 4 ช่วงหลักๆ ด้วยกัน  

1 การเพาะเมล็ด (Germination) เมล็ดที่ดีต้องอวบแน่นสมบูรณ์ ผิวแข็งเรียบเนียน สีค่อนข้างไปทางน้ำตาลแก่ ขั้วแห้งสุก ไม่มีรอยปริแตก นำไปแช่น้ำ 2 ชั่วโมง แล้วเก็บในที่มืดและอุ่น ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง จากนั้นวางเมล็ดข้างๆ กระดาษชำระชุ่มน้ำในกล่อง แล้วปิดด้วยกระดาษชำระชุ่มน้ำอีกชั้น

2 การอนุบาล (Seedling) หลังจากรากเริ่มงอกให้นำปลูกลงกระถาง การผสมวัสดุปลูกจะต้องร่วยซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ แต่ต้องมีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ไม่ต่างจากการปลูกต้นไม้ทั่วๆ ไป และสิ่งสำคัญคือต้องปลอดสารปนเปื้อน สามารถใช้ได้ทั้งพีทมอสส์ ผสมกับเพอร์ไรต์ หรือวัสดุปลูกอื่นๆ อย่าง เวอร์มิคูไล หินพัมมิช ขุยมะพร้าว เป็นต้น

3 ระยะเลี้ยงใบ (Vegetative) เป็นช่วงที่ต้องการปุ๋ยไนโตรเจนเป็นหลักเพื่อสร้างรากและใบ ช่วงนี้สามารถเพิ่มปุ๋ยมูลไส้เดือน ฮอร์โมนไข่ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารได้ ต้องการแสง 16-20 ชั่วโมง กัญชาเป็นพืชที่มีรากขยายยาวการเลือกขนาดกระถางจึงมีความสำคัญมาก ควรเลือกกระถางทรงสูงและมีขนาดใหญ่เพื่อให้รากได้แผ่ขยายได้ทั่ว

4 ระยะทำดอก (Flowering) เป็นช่วงที่ดอกเริ่มแสดงเพศ ซึ่งจะมีช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย ส่วนใหญ่แล้วจะตัดดอกเพศผู้ทิ้ง ให้เหลือเพียงดอกเพศเมียเพื่อเก็บเกี่ยวเท่านั้น ระยะนี้ให้เพิ่มปุ๋ยที่โพแทสเซียมและฟอสฟอรัสสูง เช่นปุ๋ยมูลค้างคาว เพื่อช่วยเร่งดอก ช่วงทำดอกอุณหภูมิต้องเย็น ลดความชื้น ระวังปัญหาเชื้อรา

     หลังจากอายุดอกสมบูรณ์เข้าสู่ช่วงระยะเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวจะต้องสังเกตไตรโคม (Trichomes) ตรงช่อดอก ลักษณะคล้ายเรซิ่นใส เมื่อต้นกัญชาเติบโตสมบูรณ์เต็มที่ ไตรโคมจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นส่งสัญญาณว่าพร้อมเก็บเกี่ยว สีไตรโคมแบ่งได้ 3 ระยะ ได้แก่ สีใส สีมิลกี้ (สีขาวขุ่น) และสีเหลืองอำพัน การเก็บเกี่ยวช่อดอกในระยะดอกมีสีมิลกี้ ประมาณ 70% ระยะสีเหลืองอำพัน ประมาณ 30% จะให้สารสำคัญอย่าง THC CBD สูงมาก หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการอบแห้งในลำดับต่อไป

วัสดุปลูก น้ำ ปุ๋ย ศัตรูพืช

     กัญชาปลูกง่ายไม่ต่างจากพืชผักสวนครัวที่ต้องใส่ใจในวัสดุปลูกที่ต้องมีธาตุอาหารเพียงพอต่อการเติบโต รดด้วยน้ำที่สะอาด และป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชเพื่อให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     วัสดุปลูก –สามารถใช้ดินปลูกได้เหมือนต้นไม้ทั่วไป หรือผสมวัสดุปลูกเฉพาะเพื่อให้ธาตุอาหารที่หลากหลาย สำคัญคือต้องร่วนซุย ชื้นแต่ไม่แฉะ ระบายน้ำดี

  • น้ำ –ใช้น้ำสะอาดควรมีค่า ph 6.3-6.8 สามารถใช้น้ำประปารดได้แต่ต้องปรับค่า ph ให้เหมาะสม
  • ปุ๋ย – ปุ๋ยอินทรีย์ เช่นมูลไส้เดือน มูลค้างคาว (ขออนุญาตแนะนำผลิตภัณฑ์ของ T-REX เช่น T-Rex วัสดุปลูกไรดิน , T-rex - bloom booster , T-Rex GROW SOLUTION
  • ศัตรูพืช – ศัตรูพืชของกัญชาพบมากใน 2 ช่วง คือ เพลี้ยกระโดดในช่วงทำใบ และไรแดงในช่วงทำดอก กำจัดโดยใช้สาร น้ำส้มควันไม้ สารสะเดา หรือใช้แมลงห้ำแมลงเบียน แมลงศัตรูธรรมชาติช่วยกำจัด

วิธีปลูกกัญชา กลางแจ้งหรือในโรงเรือนแบบปิด

     การเลือกปลูกกลางแจ้ง ปลูกในโรงเรือนแบบปิด หรือปลูกในกรีนเฮ้าส์ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการปลูกและความสะดวกของผู้ปลูกเป็นหลัก ซึ่งข้อดีข้อด้อยในการปลูกแต่ละแห่งก็แตกต่างดังนี้

ปลูกกลางแจ้ง : การปลูกกลางแจ้งเหมือนเป็นปลูกให้เติบโตเป็นไปตามธรรมชาติ อิงแสงตามฤดูกาล ใช้ต้นทุนน้อย แต่ต้องระวังศัตรูพืช จึงมีข้อจำกัดที่จะเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้งตามแสงในแต่ละฤดู และเหมาะที่จะปลูกเฉพาะสายพันธุ์ที่ปลูกในเมืองไทยได้ดี ทำให้มีความเสี่ยงสูงหากผลิตในปริมาณที่มาก

โรงเรือนแบบปิด : ใช้แสงไฟในการเจริญเติบโต จึงสามารถควบคุมปริมาณแสงให้เพียงพอกับความต้องการได้ จึงสามารถผลิตได้จำนวนมาก ปลูกได้หลายรอบใน 1 ปี ไม่มีแมลงศัตรูพืช แต่ต้นทุนในการสร้างโรงเรือนและติดตั้งระบบควบคุมสูงมากด้วยเช่นกัน

โรงเรือนกรีนเฮ้าส์ : การปลูกในโรงเรือนกรีนเฮ้าส์จะใช้แสงธรรมชาติผ่านหลังคาโปร่งแสง สามารถติดตั้งหลอดไฟเพิ่มปริมาณแสงได้ ป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ดี แต่มีปัญหาเรื่องอากาศที่อบร้อนจึงต้องติดตั้งระบบระบายอากาศด้วย ต้นทุนไม่สูงเท่าโรงเรือนแบบปิด และดูแลง่ายกว่าการปลูกกลางแจ้ง เหมือนเอาข้อดีของโรงเรือนทั้ง 2 แบบมารวมกัน

สั่งซื้อสินค้า >> Click here

วันที่โพสต์ : 01 เมษายน 2024